RFID

RFID คืออะไร?

RFID  เป็นชื่อของเทคโนโลยี ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน หลายๆอย่างที่มีการใช้งานอยู่นั่นมีส่วนประกอบของ RFID อยู่โดยที่ท่านคาดไม่ถึง เช่นระบบ Paywave ที่ใช้เทคโนโลยีของ RFID ในรูปแบบ NFC การทาบบัตรรถไฟฟ้า การทาบบัตรเข้างาน ทั้งหมดนี้ เป็นการใช้งานระบบ RFID ทั้งสิ้น

RFID คืออะไร?

 RFID (อาร์เอฟไอดี) ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification (เรดิโอ ฟรีเควนซี่)  เห็นคำว่าเรดิโอ ก็ไม่ต้องเดาหลักการทำงาน หลักการทำงานต้องเกี่ยวข้องกับคลื่นอย่างแน่นอน คือวิทยุซะด้วย กล่าวคือเป็นการใช้ความถี่ของคลื่น ในการส่งสัญญาณไปที่อุปกรณ์เฉพาะที่มีการส่ง / อ่าน คลื่นความถี่เดียวกัน จึงจะสามารถอ่านกันได้นั่นเอง

เมื่อเป็นคลื่น ข้อดีก็คือการที่ไม่ต้องสัมผัสกับตัวเครื่อง ลืมเครื่องรูดบัตรแบบเดิมที่ๆ ที่ต้องอ่านแถบแม่เหล็ก เพราะระบบนี้ เป็นการอ่านบัตรแบบไร้การสัมผัส ContactLess ตัวบัตรไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับเครื่องอ่าน แต่ต้องเข้าใกล้ในระยะหนึ่งๆ ตามแต่รูปแบบของคลื่นที่ทางอุปกรณ์นั้นๆ เลือกใช้

องค์ประกอบเบื้องต้นของระบบ RFID

ส่วนประกอบของระบบอาร์เอฟไอดี จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆดังนี้

 

G Pay ระบบจ่ายเงินผ่าน NPC ของ Google
Tag สำหรับ RFID

1. Tag หรือตัวบัตร จะเป็นในส่วนของบัตร ชิ้นอุปกรณ์พกพาต่างๆ พวงกุญแจ ใดๆก็ตามจะเป็นส่วนที่ใช้ในการยืนยันอุปกรณ์นั้นๆ เช่นบัตรพนักงาน Tag ทางด่วน Easy Pass พวงกุญแจทาบบัตร Apple watch มือถือก็นับเป็นส่วนนี้ได้ เป็นต้น

เครื่องอ่านบัตร ที่สามารถอ่าน NFC

2. ส่วนเครื่องอ่าน Reader จะเป็นส่วนที่อ่าน Tag เพื่อตรวจสอบค่าที่บันทึกไว้ในนั้น เช่นเลชบัตร ข้อมูลรายละเอียดต่างๆนั่นเอง และมือถือเองนอกจากสามารถเป็นเครื่องให้ตรวจสอบ (Tag) ก็ยังทำหน้าที่เป็นตัวอ่านได้ด้วยเช่นกัน

 

<< จากภาพเป็นการใช้เครื่องโทรศัพท์อ่านกับเครื่องอ่านบัตร NFC จากโทรศัพท์

 

3. ระบบที่ใช้ประมวลผล (Hardware) ในส่วนนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่นหากเป็นระบบใหญ่อย่างระบบลงเวลา ก็จะต้องมีคอมที่ไว้ดึงข้อมูล แต่ถ้าเป็นระบบอย่างเสากันขโมย ก็จะไม่มีในส่วนนี้

ระบบลงเวลาด้วยการทาบบัตร

ระบบลงเวลาด้วยการทาบบัตร เป็นการใช้ระบบ RFID กับ บัตรพนักงาน โดยใช้บัตรพนักงาน ทาบลงบนเครื่องที่มีตัวอ่านสัญญาณ

ระบบการเข้าออกลิฟท์

ระบบการเข้าออกลิฟท์ ทำเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกบ้าน ผู้ที่ไม่มีบัตร จะไม่สามารถกดลิฟท์ได้ ทำให้เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ลิฟท์เพื่อเข้าห้องพัก

ระบบลานจอดรถ

ระบบลานจอดรถ ใช้การทาบบัตรเพื่อลงเวลาการเข้าออก เป็นการยืนยันสิทธิ์ของผู้ใช้บริการ ยิ่งในลานจอดรถห้างสรรพสินค้าก็สามารถใช้บัตรเพื่อตรวจสอบการเป็นเจ้าของรถได้

ระบบหอพัก ห้องพัก

ระบบหอพัก ห้องพัก ก็สามารถเลือกใช้บริการ เป็นการทาบบัตร เพื่อเข้าห้องพักได้ เพื่อความปลอดภัยในการเข้าออก ไม่ต้องใช้กุญแจ สามารถปรับให้ใช้ร่วมกับ ระบบประหยัดพลังงาน Energy Saving ได้ เมื่อออกจากห้องพักไฟก็จะปิดนั่นเอง

ระบบการชำระเงิน

การชำระเงินด้วยระบบ Paywave ด้วยเทคโนโลยี NFC เป็นการใช้บัตรเครดิตในการชำระเงิน ทางเราไม่ได้มีบริการในส่วนนี้ แต่มีส่วนที่ใกล้เคียง คือระบบจำหน่ายอาหาร ที่มีการใช้บัตรที่มียอดเงิน ชำระค่าอาหาร

ระบบเสากันขโมย

ระบบเสากันขโมย เป็นอีกระบบหนึ่งที่มีการใช้เทคโนโลยีในเรื่องของ RFID เข้ามาช่วย แต่ส่วนการทำงานจะต่างกับระบบอื่นๆนิดหน่อยตรงที่ระบบ เสากันขโมย จะร้องทันที ถ้ามีการนำ TAG  ผ่านเสาของระบบ ซึ่งทางเราก็มีให้บริการ

ระบบทางเข้าออก ระบบรถไฟฟ้า ระบบสวนสนุก

ระบบทางเข้าออก ระบบรถไฟฟ้า ระบบสวนสนุก รวมไปถึงการเข้าออกโรงงานต่างๆ ก็มีการใช้งานร่วมกับเครื่องกั้นสามขา พร้อมติดหัวอ่านบัตร RFID / Barcode เพื่อตรวจสอบการเข้าออก ไม่ให้ผู้ที่ไม่พึงประสงค์แอบเข้าไปได้

ระบบอื่นๆ

ปัจจุบันมีการนำระบบไปใช้ทำอย่างอื่น เช่น ระบบ E-stamp สำหรับบันทึกส่วนลด ระบบ Easy Pass สำหรับทางด่วน จนไปถึงทางการแพทย์อย่าง ระบบตรวจเลือดเบาหวานด้วยอุปกรณ์ฝัง อ่านค่าผ่าน App และแน่นอนว่า เทคโนโลยีจะยังคงถูกพัฒนาต่อไปอีกหลายรูปแบบ

การแบ่งรูปแบบของ RFID

เราสามารถแบ่งระบบ RFID ได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้เป็น แบบแบ่งตามระยะการอ่านของหัวอ่าน กับแบบแบ่งตามมาตรฐานคลื่น ซึ่งการแบ่งรูปแบบของ RFID ในรูปแบบระยะจะง่ายกว่า เพราะเป็นการแบ่งโดยกว้างไม่เจาะลึกในรายละเอียด แต่ก็พอจะทำให้เห็นภาพได้ว่า แต่ละแบบต่างกันอย่างไร และเหมาะสมกับระบบใดบ้าง จะขอยกตัวอย่างดังนี้

การแบ่งรูปแบบของ RFID โดยแบ่งตามระยะการอ่าน

ระยะใกล้
Short Range

ระยะเริ่มต้น ตั่งแต่ 0 - 5 cm

สามารถจับภาพผู้ทาบบัตรได้ เนื่องจากระยะใกล้มาก

นิยมใช้กับเครื่องทาบบัตรต่างๆ ทางเข้าออกอาคาร

บัตรมีราคาถูก

ระยะกลาง
Middle Range

ระยะการอ่านตั้งแต่ 0 - 90 cm

นิยมใช้กับระบบลานจอดรถ เนื่องจากอ่านได้ไกลพอสมควร

สามารถอ่านทะลุวัตถุได้ เช่นกระจกรถ กระเป๋าเงิน

ราคาบัตรไม่สูงมากนัก

ระยะไกล
Long Range

ระยะการอ่านไกลมาก สูงสุดถึง 15 เมตร

นิยมใช้กับระบบทางเข้าออกหมู่บ้าน เนื่องจากไม่ต้องจอดรถ

สำหรับระบบ Bluetooth สามารถอ่านทะลุกระจกได้

การแบ่งรูปแบบของ RFID ด้วยชนิดของคลื่นสัญญาณ

การแบ่งโดยรายละเอียดแบบนี้ จะบอกได้คร่าวๆ ถึงชื่อของรูปแบบ ระยะในการใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดของหัวอ่านบัตร RFID ในแต่ละคลื่น

Proximity

เป็นคลื่น RFID ที่บัตรคลื่นนี้ ได้รับความนิยมในการใช้มากที่สุด มีอีกชื่อว่า 125kHz (เป็นชื่อตามความถี่) มีราคาบัตรที่ถูก แต่มีระยะการอ่านที่กว้าง เริ่มตั้งแต่ 0 - 90 cm ตามแต่ราคา และคุณภาพบัตร และหัวอ่าน

Mifare

Mifare  13.56 mHz เป็นบัตรที่มีระยะการอ่านที่สั้นที่สุด คือไม่เกิน 10 cm มักพบตามเครื่องสแกน Access Control มักนิยมใช้เป็นบัตรพนักงาน ราคาบัตรไม่สูงมากนัก

UHF

หัวอ่านบัตร ระยะ 0 - 5 เมตร เป็นหัวอ่านบัตรที่มีราคาสูงขึ้นมาอีกหน่อย แต่มีปัญหาเรื่องผิดกฏหมายมากที่สุด ต้องมีการขออนุญาตก่อนใช้งาน หรือต้องมีการปรับแต่งให้ใช้งานได้โดยไม่มีปัญหา ปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้จำหน่าย (แต่เรามีจำหน่าย)

หัวอ่าน Bluetooth

หัวอ่านที่อ่านได้ไกล ราคาหัวอ่านไม่แพงเท่า UHF อ่านได้ตั้งแต่ 0 - 15 เมตร แต่แลกมาด้วยราคาบัตรที่แพงเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นบัตร RFID ที่มีการใช้ถ่านเข้ามาช่วยเพิ่มระยะบัตร มักพบตามหมู่บ้านที่มีราคาแพง หรือเป็นบัตรของผู้บริหาร เนื่องจากอ่านได้ไกลมาก

ด้วยข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา จะทำให้เห็นภาพได้ว่า ที่องค์กรของคุณ ใช้บัตรรูปแบบใดอยู่ ภาพและรายละเอียดที่ยกตัวอย่าง เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่จะสามารถอธิบายถึงระบบ RFID ได้ จริงๆแล้วระบบอาร์เอฟไอดี มีการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ มีการปรับใช้ในเรื่องการนับสต๊อก การปศุสัตว์ต่างๆ อีกมากมาย ที่ทางเราไม่ได้ยกตัวอย่าง อยู่ที่การปรับใช้ระบบให้เหมาะกับองค์กรของท่าน หากท่านต้องการทราบรายละเอียดที่มากขึ้น หรือมีโปรเจ็กท์ที่ต้องการปรึกษา สามารถโทรสอบถาม ทีมงานฝ่ายขายของเราได้